ข่าวทั่วไทย

Just another WordPress site

ข่าวทั่วไทย

Just another WordPress site

ข่าวทัวไป

ชาวพุทธแตกตื่น..พระบรมสารีริกธาตุฯพระพุทธเจ้า 3 องค์ประดิษฐานในที่เดียวกัน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช

ที่ห้องประชุมสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ดร.ประกาย ณ สงขลา ประธานสภาส่งเสริมวัฒนธรรมอาเซียน พร้อมด้วยคณะกรรมการพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ร่วมประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมการประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนชาวนครศรีธรรมราช และประชาชนทั่วไปได้เข้าถวายสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล ในระหว่างวันที่ 9-29 กรกฎาคม 2568 ณ วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นห้วงของวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา ประจำปี 2568


โดยจะมีการตั้งริ้วขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2568 เวลา 09.00 น. ณ สนามหน้าเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งจะมีริ้วขบวนอัญเชิญที่ประกอบด้วย รถบุปผชาติ วงโยธวาทิต ขบวนธง และพานสักการะ รวมถึงการมอบรางวัลทูตคุณธรรมแก่ตัวแทนผู้ร่วมขบวนอัญเชิญ และสมาชิกสภาส่งเสริมวัฒนธรรมอาเซียน ก่อนจะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐาน ณ ลานโพธิ์ วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 9-24 กรกฎาคม 2568 และในระหว่างวันที่ 25-29 กรกฎาคม 2568 ประดิษฐาน ณ ศาลา 100 ปี ภายในวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อให้นักท่องเที่ยว และประชาชนได้สักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต


ประธานสภาส่งเสริมวัฒนธรรมอาเซียน กล่าวว่าได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากพุทธคยา สาธารณรัฐอินเดีย มายังประเทศไทย เพื่อเป็นสิริมงคลสูงสุดแก่ผู้ที่ได้สักการะ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ซึ่งพระบรมสารีริกธาตุองค์นี้ ได้ผ่านการประกอบพิธีสักการะ ณ พระมหาเจดีย์พุทธคยา สถานที่สำคัญของพระพุทธศาสนา ก่อนจะถูกส่งมายังประเทศไทย และทำการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐาน ณ อาคารปฏิบัติธรรมของสำนักงานสภาส่งเสริมวัฒนธรรมอาเซียน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี เพื่อเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าถวายสักการะและสัมผัสมงคลแห่งชีวิต และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ ให้พุทธศาสนิกชน ประชาชน และนักท่องเที่ยว ได้เข้าสักการะอย่างใกล้ชิดทุกภูมิภาคของประเทศ
ในที่ประชุม ดร.ประกาย ณ สงขลา ประธานสภาส่งเสริมวัฒนธรรมอาเซียน ได้ตัดเพ้อเรื่องที่หัวหน้าส่วนราชการระดับสูงในจังหวัด ไม่ให้ความสำคัญกับการอัญเชิญพระบรมสาริรีกธาตุจากพุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดียวมาประดิษฐาน ณ.วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารในครั้งนี้แตกต่างจากจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศที่จะให้ความสำคัญสูงสุดเพราะเป็นนับเป็นสิ่งที่เป็นสิริมงคลสูงสุดของบ้านเมืองและประชาชน ประกอบกับอยู่ในห้วงของการจัดกิจกรรมสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา และคณะกรรมการยูเนสโกมีกำหนดลงพื้นที่ตรวจสอบประเมินแหล่งมรดกโลกวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งทั้งหมดนับเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดประโยชน์ต่อการพิจารณารับรองวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารทั้งสิ้น


นอกจากนี้ทราบว่ามีความพยายามที่จะตัดกิจกรรม ลดวันประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุจากเดิมที่กำหนดระหว่างวันที่ 9-29 ก.ค. 2568 เหลือแค่วันที่ 25 ก.ค. 2568 อ้างว่าวันที่ 26-29 ก.ค. 2568 จะไปทับซ้อนกับกำหนดการของคณะกรรมการยูเนสโกที่มีกำหนดการลงพื้นที่ประเมินโครงการวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารสู่มรดกโลก จนในที่ประชุมได้ไหยิบยกมาวิพากวิจารณ์กันอย่างดุเดือด และไม่เห็นด้วย


โดยนายไพฑูรย์ อินทศิลา ผ้าสื่อข่าวหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ และผู้สื่ออาวุโส/ประธานศูนย์ข่าวนคร 24 ชม.สมาคมสื่อมวลชนจังหงวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นบุคคลต้นคิดโครงการพระบรมธาตุมรดกโลกตั้งแต่ช่วงปี 2537-2538 กล่าวว่าแม้ว่าในช่วงเริ่มรณรงค์โครงการพระบรมธาตุมรดกโลกจนเริ่มมีการแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาผลักดันโครงการพระบรมธาตุมรดกโลกเมื่อปี 2552 สมัยนายภาณุ อุทัยรัตน์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ตนถูกแต่งตั้งให้ร่วมเป็นคณะกรรมการหลายชุด จนทุกวันนี้ผ่านมา 30 ปี จนถึงจุดสุดท้ายที่พระบรมธาตุมรดกโลกหลังคณะกรรมการลงพื้นที่ประเมินนัดสุดท้าย และตนไม่ได้อยู่ในคณะกรรมการใด ๆ อีกเลยก็ไม่เป็นไร แต่ก็ดีใจและสนับสนุนทุกคน ทุกกิจกรรมที่เอื้อประโยชน์ให้พระบรมธาตุได้รับการรับรองเป็นมรดกโลกซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุด


“การอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากพุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย มาประดิษฐาน ณ.วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตนมองว่าเป็นปรากฏการณ์ในทางพระพุทธศาสนาที่องค์พระบรมสารีรกธาตุขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า 2 องค์เสด็จมาประดิษฐาน ฯ.สถานทีเดียวกัน คือองค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช และองค์พระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญจากรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการบูรณาการกิจกรรมด้วยกัน เป็นการบ่งบอกถึงเอกลักษณ์อัตลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดและเป็นสโลแกนการนำเสนอพระบรมธาตุมรดกโลกคือ มรดกโลกที่ยังมีชีวิตอยู่ คณะกรรมการยูเนสโกลงพื้นที่จะได้เห็นกิจกรรมที่มีชีวิตจากแรงศรัทธาของประชาชนชาวพุทธที่หลั่งไหลมากราบนมันการองค์พระบรมสารีริกธาตุทั้ง 2 องค์ซึ่งเป็นผลด้านบวกกับความรู้สึกของคณะกรรมการยูเนสโกที่เขาได้เห็นความคึกคัก ตื่นตัวของชาวนครศรีธรรมราช ชาวพุทธ ผมเชื่อว่าหากไม่มีกิจกรรมใด ๆ ในช่วงดังกล่าว ภายในวัดถูกทิ้งให้ว่างเปล่า บรรยากาศบ้านเมืองเงียบเหมา ภายในวัดถูกกันพื้นที่ไว้เฉพาะคณะกรรมการยูเนสโก ตนมองว่าจะมีผลด้านลบ หรือผลเสียกับความรู้สึกของคณะกรรมการยูเนสโก เนื่องจากขัดกับความรู้สึกของ “แหล่งมรดกโลกวัฒนธรรมที่ยังมีชีวิตอยู่” อย่างชัดเจน หากจะเป็นอย่างนี้จะมีความเป็นไปได้สูงและสุ่มเสี่ยงต่อการพิจารณารับรองวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเป็นมรดกโลกก็ได้ จึงควรจะบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกันและอยู่ในช่วงเดียวกันระหว่างวันที่ 9-29 ก.ค.2568
“ในที่สุดผู้ที่เข้าร่วมประชุมได้มีมติ 100 เปอร์เซ็นต์ให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุวรมหาวิหารจากรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ตามกำหนดการเดิม และต่อมาในเวลา 16.00 น.วันเดียวกันทางคณะกรรมการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ฯได้นำมติดังกล่าวเข้ากราบรายงานต่อพระธรรมวชิรากร เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารและนางสมศรี แสงแก้ว วัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อยืนยันการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ฯมาประดิษฐาน ณ.มณฑลพิธีวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตามกำหนดการเดิมระหว่างวันที่ 9-29 ก.ค. 2568


ดร.ประกาย ณ สงขลา ประธานสภาส่งเสริมวัฒนธรรมอาเซียน กล่าวว่า หลังการประชุมตนเพิ่งได้รับแจ้งจากสมาชิกสภาอาเซียนว่าจะให้ตนไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าอีก 1 องค์จากประเทศศรีลังกาเพื่อมาประดิษฐานร่วมกัน ณ.วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นับเป็นปรากฏการณ์ที่เป็นประวัติในทางพระพุทธศาสนาที่องค์พระบรมสารีริกธาตุองค์สัมมาสัมพุทธเจ้ามากถึง 3 องค์มาประดิษฐานอยู่ในสถานที่เดียวกัน ณ.วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เพื่อเป็นการต้อนรับ “วัดพระธาตุวรมหาวิหารเป็นมรดกโลก”อย่างเป็นทางการท่ามกลางความตื่นเต้นดีใจของผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอย่างมาก”


ไพฑูรย์ อินทศิลา /นครศรีธรรมราช
4 ก.ค.2568

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *